เป้าหมาย (Understanding Goal)

Week8

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์  : เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต 2 มิติ และ  3 มิติ โดยการนำมาวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาปริมาตรสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้อง
Week
Input
Process
Output
Outcome
8
29 - 4
มี.ค. 2559

โจทย์ :
เรขาคณิต  3 มิติ  แลโจทย์ปัญหา
คำถาม  
- รูปเรขาคณิต  2 มิติ  และ 3 มิติ สัมพันธ์กันอย่างไร
- นักเรียนจะหาปริมาตรของน้ำที่อยู่ ถังสี่เหลี่ยมได้อย่างไร

เครื่องมือคิด
 Show and Share

นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการหาปริมาตรและหน่วยการวัดต่างๆจากโจทย์ประยุกต์  ในรูปแบบภาพวาด
Black Board Share
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการหาคำตอบและวิธีคิดความเกี่ยวข้องขององค์ความรู้ต่างๆที่นำมาปรับใช้ได้กับเรขาคณิต 3 มิติ

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู / นักเรียน

สื่อ / อุปกรณ์  
- สื่อจากสิ่งของที่มีรูปทรงเป็น 3 มิติ
- โจทย์ประยุกต์การหาปริมาตร
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเรขาคณิต 2 มิติ  เช่น มุม  ความสัมพันธ์ของสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
เชื่อม : นักเรียนแต่ละร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดรูปเรขาคณิต  2 มิติ  และ 3 มิติ สัมพันธ์กันอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดความคิดเห็น และวาดภาพความสัมพันธ์ เรขาคณิต 2 มิติและ 3 มิติ
- ครูให้นักเรียนออกแบบภาพศิลปะจากเราคณิต  3 มิติ
- นักเรียนแต่ละคนนำเสนอผลงาน
- นักเรียนเตรียมสิ่งของที่มีลักษณะ 3 มิติ มาคนละ 1 ชิ้น เพื่อร่วมทำกิจกรรมในคาบการเรียนรู้หน้า
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : นักเรียนนำสิ่งของที่มีรูปทรงเป็น 3 มิติ มาวางรวมกันที่กลางวง
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?” และจะจัดหมวดหมู่สิ่งต่างๆได้อย่างไร ?
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น และมีตัวแทนอาสาจัดหมวดหมู่สิ่งของต่างๆ
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิดนักเรียนจะหาปริมาตรของน้ำที่อยู่ ถังสี่เหลี่ยมได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์โจทย์ ออกเป็นภาพวาดและแสดงวิธีคิดเพื่อค้นหาคำตอบ
- ครูและนักเรียนร่วมกัน วิเคราะห์โจทย์ที่หลากหลายและอภิปรายร่วมกัน
วันพุธ 1 ชั่วโมง
       การคิด วิเคราะห์รหัสภาษาอังกฤษกับตัวเลข
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากโจทย์  (การหาปริมาตร) แท็งก์น้ำมีด้านกว้าง 2 เมตร  ยาว 2 เมตร และสูง 2 เมตร ต้องการใส่น้ำเพียงครึ่งถัง จะต้องใช้น้ำปริมาตรเท่าไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์โจทย์ ออกเป็นภาพวาดและแสดงวิธีคิดเพื่อค้นหาคำตอบ
- ครูและนักเรียนร่วมกัน วิเคราะห์โจทย์ที่หลากหลายและอภิปรายร่วมกัน
ใช้ : ครูแจกโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาปริมาตรให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นลงในสมุดบันทึก

   วันศุกร์ 1 ชั่วโมง        
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์โจทย์ ออกเป็นภาพวาดและแสดงวิธีคิดเพื่อค้นหาคำตอบ
- ครูและนักเรียนร่วมกัน วิเคราะห์โจทย์ที่หลากหลายและอภิปรายร่วมกัน
ใช้ : ครูแจกโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาปริมาตรให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นลงในสมุดบันทึก
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนสรุปความเข้าใจลงในสมุดบันทึกเล่มเล็ก
ภาระงาน
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต 2 มิติ และ 3 มิติ
- วิเคราะห์โจทย์เพื่อหาปริมาตรสิ่งต่างๆ
ชิ้นงาน

 - สมุดบันทึก



ความรู้
เข้าใจและเห็นความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต 2 มิติ และ  3 มิติ โดยการนำมาวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาปริมาตรสิ่งต่างๆได้อย่างถูกต้อง
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
สามารถคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต 2 มิติ และ  3 มิติ โดยการนำมาวิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาปริมาตรสิ่งต่างๆได้
 ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับการหาปริมาตรของสิ่งต่างๆโดยใช้ความสัมพันธ์ทางเรขาคณิตได้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถหาปริมาตรของสิ่งต่างๆ  พร้อมทั้งใช้หน่วยการวัดที่ถูกต้องได้
ทักษะการเรียนรู้
สามารถร่วมเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นพร้อมให้เหตุผลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้
คุณลักษณะ
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้














1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    สำหรับสัปดาห์นี้วิชาคณิตศาสตร์เป็นกิจกรรมการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับการหาปริมาตรของเรขาคณิตสามมิติโดยในวันจันทร์ที่ผ่านมาคุณครูและพี่ป. 5 ได้ร่วมกันทบทวน การหาพื้นที่และปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรขาคณิต 2 มิติเพื่อเชื่อมโยงและเป็นพื้นฐานให้กับเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรขาคณิตสามมิติค่ะ จากนั้นในกิจกรรมต่อ มาคุณครูได้ให้พี่ แต่ละคนวาดภาพสามมิติที่ตนเองรู้จักมาให้ได้มากที่สุด จากนั้นก็ได้ร่วมกันจัดหมวดหมู่และถอดส่วนประกอบของภาพสามมิตินั้นออกมาในรูปแบบของภาพ 2 มิติเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงที่ประกอบกันอยู่
    ในวันต่อมาคุณครูได้ ให้พี่แต่ละคนเตรียมสิ่งของต่างๆจากที่บ้าน โดยมีโจทย์ว่า ให้สิ่งของชนิดนั้นมีลักษณะเป็นสามมิติ ในเช้าวันรุ่งขึ้นพี่แต่ละคนได้เตรียมสิ่งของของตนเองมาเราได้นั่งล้อมวงและนำสิ่งของที่เตรียมมานั้นวางไว้บริเวณกลางวง คุณครูได้ใช้คำถามกระตุ้นการคิดกับพี่ เช่น พี่ๆ สังเกตเห็นอะไรบ้าง ?และสิ่งของที่อยู่ตรง กลางวงนั้นสามารถจัดหมวดหมู่ได้อย่างไร ? มีพี่ที่นั่งอยู่รวมกันเป็นตัวแทนอาสามาร่วมจัดหมวดหมู่พี่ มุก(อุ)และพี่อายได้จัดหมวดหมู่ของสิ่งของที่วางอยู่ตรงกลางเป็นลักษณะของเรขาคณิตสามมิติ ประกอบด้วยทรงกระบอก ปริซึมทรงสี่เหลี่ยม ครึ่งทรงกลมและ ไร้รูปส่งค่ะ จากนั้นแต่ละคนได้วาดวัตถุสิ่งของที่อยู่ตรงหน้านั้นลงในสมุดบันทึกของตนเอง
    กิจกรรมต่อมาหลังจากที่แต่ละคนได้ร่วมสังเกตสิ่งของๆเพื่อนๆ แล้วคุณครูได้แจกกระดาษไอโซเมตริก ให้กับพี่ๆแต่ละคนเพื่อจินตนาการและสร้างสรรค์ภาพสามมิติที่เกิดจาก จุดบนกระดาษไอโซเมตริกตามที่ตนเองต้องการค่ะ ในวันต่อมาเป็นกระบวนการเข้าสู่การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับภาพเรขาคณิต 2 มิติประกอบด้วยการหาปริมาตรต่างๆค่ะ โดยคุณครูเริ่มต้นจากภาพทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสและสี่เหลี่ยมผืนผ้าเอามาให้พี่ๆได้ร่วมหาคำตอบของปริมาตรที่บรรจุอยู่ภายใน ตัวอย่างโจทย์ เช่น “แท็งก์น้ำทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีด้านแต่ละด้านยาว 8 เมตรต้องการบรรจุน้ำเพียงครึ่งถังอยากทราบว่าน้ำนั้นต้องมีปริมาตรเท่าใด?” เราได้อภิปรายเกี่ยวกับโจทย์ข้อนี้ออกมาเป็นภาพวาดและถอดเป็น 2 มิติเพื่อให้พี่ๆ ได้เห็นความเชื่อมโยงของเรขาคณิต 2 มิติและ 3 มิติค่ะจากนั้นให้แต่ละคนได้ร่วมกันสังเกตุความแตกต่างของภาพสี่เหลี่ยมจตุรัสที่อยู่ในฐานะของเลขาคณิต 2 มิติและปริซึมทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสที่อยู่ในฐานะของเรขาคณิตสามมิติจากการพูดคุยแต่ละคนสังเกตุเห็นเป็นจุดเดียวกันว่ามีความสูงหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าความหนา หรือความลึก ของวัสดุชิ้นนั้นเพิ่มมากขึ้นหลังจากเสร็จการวิเคราะห์โจทย์ปัญหาปริมาตรในข้อนี้แล้วคุณครูได้ให้พี่ๆทุกๆคนได้มีโอกาสวิเคราะห์หาปริมาตรจากเรขาคณิตสามมิติรูปทรงต่างๆประมาณ 5 - 6 ข้อค่ะแล้วก็ได้มีการร่วมนำมานำเสนอและวิเคราะห์พร้อมทั้งแสดงวิธีคิดของแต่ละคน

    ตอบลบ