เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายการหาพื้นที่รูปเรขาคณิต 2
มิติ แบบต่างๆโดยใช้ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตพื้นฐานของสามเหลี่ยมใดๆกับสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
4
1
- 5
ก.พ.
2559
|
โจทย์
:
- สามเหลี่ยมใดๆกับสี่เหลี่ยมจัตุรัส
- ที่มาของความสัมพันธ์
คำถาม
- สามเหลี่ยมรูปแบบใดๆ มีความสัมพันธ์กับสีเหลี่ยมจัตุรัสอย่างไร
เครื่องมือคิด Show and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปทรงพื้นฐานที่สามารถนำมาเปรียบเทียบและหาคำตอบของรูปเรขาคณิตอื่นๆได้
Black Board
Share
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการหาพื้นที่รูปเรขาคณิต 2 มิติที่มีรูปร่างแน่นอน โดยการใช้ความสัมพันธ์ของรูปเรขาอื่นๆ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู / นักเรียน
สื่อ / อุปกรณ์
- ภาพรูปเรขาคณิตต่างๆ ทั้ง 2 มิติ
และ 3 มิติ
- กระดาษแข็งที่ตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมต่างๆ ซึ่งว่างซ้อนทับบนกระดาษแข็งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
(โดยมีตารางหน่วยกำกับ)
|
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง
: ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “สามเหลี่ยมรูปแบบใดๆ มีความสัมพันธ์กับสีเหลี่ยมจัตุรัสอย่างไร?”
เชื่อม
: นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง
: ครูนำกระดาษแข็งที่ตัดเป็นรูปสีเหลี่ยมต่างๆ
ซึ่งว่างซ้อนทับบนกระดาษแข็งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส (โดยมีตารางหน่วยกำกับ) ให้นักนักเรียนร่วมสังเกต
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
เชื่อม
: นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง
: ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “แต่ละภาพมีกี่ตารางหน่วย?”
เชื่อม
: นักเรียนแต่ละคนช่วยกันนับและนำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่สังเกตเห็น
เชื่อม
: ครูวาดภาพยกตัวอย่างโจทย์
ใช้
: นักเรียนแต่ละคนร่วมทดลองหาพื้นที่ของรูปต่างๆ ตามความเข้าใจเดิมที่มีอยู่และอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
เชื่อม
: ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตต่างๆ
เมื่อชั่วโมงที่แล้ว
ใช้
: ครูแจกใบงานให้นักเรียนแต่ละคนซึ่งเกี่ยวกับการสร้างรูปเรขาคณิตและการหาพื้นที่ที่โดยใช้ความสัมพันธ์ของรูปร่างต่างๆให้นักเรียนแต่ละคน ทบทวนความเข้าใจพื้นฐาน
วันพุธ
1 ชั่วโมง
**ออกแบบเกมรูปแบบต่างๆตามจินตนาการ
**
วันพฤหัสบดี
1 ชั่วโมง
ชง : ครูวาดภาพสามเหลี่ยม และสี่เหลี่ยม รูปแบบต่างๆ บนบอร์ด ประกอบด้วย
สามเหลี่ยมมุมฉาก สี่เหลี่ยมรูปว่าว สามเหลี่ยม 2 รูปติดกัน ฯลฯ
เชื่อม : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนสังเกตเห็นอะไรบ้าง?”
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “เราจะหาพื้นที่รูปเหล่านี้ได้อย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและแสดงวิธีคิดร่วมกัน
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนร่วมกันแสดงวิธีคิดตมความเข้าใจของตนเองและสรุปลงในกระดาษ
A4
วันศุกร์
1 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับกิจกรรมการเรียนรูที่ผ่านมาตลอดสัปดาห์
- นักเรียนนับแบ่งกลุ่มโดยการจับไม้ไอศกรีม
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนสรุปความเข้าใจการหาพื้นที่องรูปสามเหลี่ยมต่างๆโดยใช้ความสัมพันธ์ในรูปแบบการ์ตูนช่อง
- นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
|
ภาระงาน
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต สามเหลี่ยมใดๆกับสี่เหลี่ยมจัตุรัสและหาพื้นที่ของรูปต่างๆ
พร้อมนำเสนอและอภิปรายร่วมกัน
ชิ้นงาน - ใบงานความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต สามเหลี่ยมใดๆกับสี่เหลี่ยมจัตุรัสและหาพื้นที่ของรูปต่างๆ
- การ์ตูนช่องสรุปความเข้าใจการหาพื้นที่องรูปสามเหลี่ยมต่างๆโดยใช้ความสัมพันธ์
- สมุดบันทึก
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายการหาพื้นที่รูปเรขาคณิต
2 มิติ
แบบต่างๆโดยใช้ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตพื้นฐานของสามเหลี่ยมใดๆกับสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
สามารถคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต
2 มิติ พื้นฐาน เพื่อนำไปใช้หาพื้นที่ได้
ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับพื้นที่ของรูปเรขาคณิตในการใช่หน่วยต่างๆได้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถหาพื้นที่ของสามเหลี่ยมใดๆโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสามเหลี่ยมใดๆกับสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้
ทักษะการเรียนรู้
สามารถร่วมเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นพร้อมให้เหตุผลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
|









ตัวอย่างชิ้นงาน
หาข้อมูลพื้นฐาน เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมต่างๆ




ตัวอย่างใบงาน


หาความพื้นที่สิ่งของต่างๆ ในระบบ 2 มิติ ด้วการใช้ความสัมพันธ์ สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม




บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบกระบวนการในสัปดาห์นี้ เป็นการเรียนรู้จากสื่อจริงค่ะ โดยในวันแรกๆนั้น คุณครู ตั้งคำถามกับพี่ๆ ว่า “สามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมมีความสัมพันธ์กันอย่างไร?” จากนั้นก็เป็นกระบวนการสืบค้นข้อมูลค่ะ ข้อมูลที่ได้มาทุกคน ได้มาด้วยความงง (ซึ่งครูตั้งใจอยากให้เป็นเช่นนั้น) จากนั้นแต่ละคนก็นำเสนอ สิ่งที่ได้มา แบบ งงๆเช่นกัน
หลังจากนั้นคุณครู จึ่งนำแผ่นฟิวส์เจอบอร์ด ที่ไดเตรียมมานั้นมาติดบนบอร์ดให้พี่ๆสังเกต และหาความสัมพันธ์ของแต่ละรูปร่วมกัน เริ่มจาก แผ่นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ที่มีขนาด 80 ตารางเซนติเมตร ซึ่งใช้เป็นแบบมาตรฐาน ที่ใช้เทียบหาพื้นที่และความสัมพันธ์กับสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยมรูปร่างอื่นๆที่ได้เตรียมมาด้วย และประกอบด้วย สามเหลี่ยมมุมฉาก สามเหลี่ยมมุมแหลม สามเหลี่ยมมุมป้าน สี่เหลี่ยมรูปว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน และสี่เหลี่ยมรูปร่างใดๆ ที่มีความสัมพันธ์ กับ เส้นทแยงมุม และเส้นกิ่งด้วยค่ะ จากกการนำเสนอสื่อจริงรูปเรขาคณิตต่างๆที่เตรียมมานั้น ใช้รูปแบบคำถาม เป็น พี่ๆ สังเกตเห็นอะไรบ้าง แต่ละรูสัมพันธ์กันอย่างไร และมีความแตกต่างกันอย่างไร เราค่อยๆตั้งคำถามและเปรียบเทียบตารางหน่วยต่างๆที่คุณครูวาดและวัดมาได้ตามแบบนั้น สามเหลี่ยมทุกรูปที่กล่าวมา มีพื้นที่เป็นครึ่งหนึ่ง ของสี่เหลี่ยมพื้นผ้า ที่มีขนาด 80 ตารางเซนติเมตร ทราบได้จากการนับช่องตารางที่ได้ถูกวาดกำกับไว ดังนั้นจึงเป็น การไขปริศนาให้พี่ๆ แต่ละคนได้ทราบว่าที่มาของสูตรการหาพื้นที่แต่ละรูปของเรขาคณิต 2 มิติ มีที่มาอย่างไร จากนั้นในวันต่อมาคุณครูก็ได้ทบทวนอีกครั้งทั้งเรื่องความสัมพันธ์ และขนาดของมุมต่างๆ ก่อนที่จะมีใบงานให้พี่ๆได้ลองฝึกทำและร่วมเฉลยไปพร้อมๆกันค่ะ