เป้าหมาย (Understanding Goal)

Week1

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์  : เข้าใจและสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของรูปทรงเรขาคณิต กับรูปทรงที่ปรากฏในธรรมชาติได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
1
11- 15
ม.ค. 2559


โจทย์ : รูปทรงเรขาคณิตกับธรรมชาติ

คำถาม  
นักเรียนคิดว่ารูปทรงเรขาคณิต สัมพันธ์กับรูปทรงต่างๆของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติอย่างไร

เครื่องมือคิด
 Show and Share

นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิตกับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ
Mind Mapping
สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน

ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู / นักเรียน
สื่อ / อุปกรณ์  
- ธรรมชาติรอบๆอาคารเรียน
- ภาพรูปเรขาคณิตต่างๆ ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากกระบวนเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ผ่านมา นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนเขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนในรูปแบบ Mind Mapping
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด เมื่อพูดถึงภาพ 2 มิติ และ 3 มิติ ในรูปทรงเรขาคณิต นักเรียนนึกถึงภาพใดบ้าง?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมนำเสนอความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนแต่ละคนออกแบบภาพ 2 และ 3 มิติ ตามจินตนาการ และวาดลงในกระดาษ A4
วันพุธ 1 ชั่วโมง
**แบ่งกลุ่ม ประดิษฐ์เครื่องบินจากแผ่นกระดาษจำลอง **
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่ารูปทรงเรขาคณิต สัมพันธ์กับรูปทรงต่างๆของสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติอย่างไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้ : นักเรียนแต่ละคน ออกสำรวจธรรมชาติรอบๆอาคารเรียนและเก็บ กิ่งใหม่ ใบไม้ หรือรูปทรงต่างๆในธรรมชาติที่สนใจ มาวาดรูป พร้อมวัดขนาดสัดส่วนต่างๆที่เกิดขึ้นและระบุลงในภาพ

วันศุกร์ 1  ชั่วโมง
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนนำเสนอภาพเรขาคณิตของตนเอง
 - ครูและนักเรียนร่วมพิจารณา รูปเรขาคณิตที่เกิดขึ้น
ชง : ครูวาดภาพเรขาคณิตต่างๆ และขีดเส้นตารางหน่วย
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด นักเรียนคิดว่าแต่ละภาพมีกี่ตารางหน่วย?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมนับและนำเสนอความคิดเห็น
ใช้ : ครูวาดภาพรูปทรงเรขาคณิตต่างๆทั้งที่มีตารางหน่วยแน่นอนและไม่แน่นอนให้พี่ ร่วมนับและแสดงความคิดเห็น
- นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็นและสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ลงในสมุดบันทึก
ภาระงาน
- สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนในรูปแบบ Mind Mapping 
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิตกับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ

- ออกแบบรูปเรขาคณิต 2 มิติ และ 3 มิติตามความสนใจ

ชิ้นงาน
- ภาพวาดรูปเรขาคณิต 2 มิติ และ 3 มิติ

-  Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียน
- สมุดบันทึก



ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายความสัมพันธ์ของรูปทรงเรขาคณิต กับรูปทรงที่ปรากฏในธรรมชาติได้

ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
สามารถคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิตกับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ
 ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับพื้นที่ของรูปเรขาคณิตในการใช่ตารางหน่วยได้
ทักษะการเรียนรู้
สามารถร่วมเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นพร้อมให้เหตุผลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้
คุณลักษณะ
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
ทบทวนแลัสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับรูปทรงเรขาคณิต
  


  


  



 ตัวอย่างชิ้นงาน
- รูปทรงต่างๆ จากธรรมชาติ




 ตัวอย่างชาร์ต ข้อมูบล ทบทวน รูปทรงเรขาคณิต
 


ตัวอย่าง Mind Mapping (ก่อนเรียน นักเรียน)








1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    สัปดาห์นี้คุณครูได้ให้ พี่ ป.5 ทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่ผ่านมา และสรุปในรูปแบบการเขียนองค์ความรู้ก่อนเรียน จากนั้นก็เข้าสู่เนื้อหา ซึ่งเกี่ยวกับรูปเรขาคณิต 2 มิติ และ 3 มิติ ซึ่งนับว่าเริ่มต้นด้วยเรื่องที่ง่ายและอยู่ใกล้ตัวกับพี่ๆ โดยกิจกรรมนั้นเป็นออกแนวศิลปะค่ะ เนื่องจากได้คลุกอยู่กับรูปทรงในธรรมชาติ เพราะแต่ละคนนำรูปทรงเรขาคณิตที่พบในธรรมชาติ มาเริ่มต้นเรียนรู้ โดยคุณครูให้พี่ๆแต่ละคนออกเดินสำรวจ ธรรมชาติรอบๆอาคารเรียนในมุมสวนต่างๆ แล้วให้นำมาวาดพร้อมวิเคราะห์รูปทรงเรขาคณิตที่ซ้อนอยู่ อีกทั้งเขียนสัดส่วนขนาดที่เกิดขึ้น เช่นความกว้าง ความยาว หลายคนนำสิ่งของที่ได้จากธรรมชาติมาแตกต่างกันค่ะ บ้างก็เป็น ใบไม้แห้ง ใบไม้สุด ลูกไม้ กิ่งใหม่ ก้อนหินต่างๆ ซึ่ง ทุกคนวาดออกมาได้สวยงามและมีสัดส่วนของตัวเลขต่างๆกำกับด้วย ซึ่งคุณครูจะนำเรื่องนี้เชื่อสู้การหาพื้นที่ต่างๆ จากนั้นกิจกรรมที่นำมาเพิ่มเติมให้พี่ๆได้ร่วมสนุกกับคณิตศาสตร์แนวศิลป์ คือการวาดภาพรูปเรขาคณิตที่ตนเองรู้จักทั้ง 2 และ 3 มิติ ให้เป็นเรื่องราว จากภาพที่เกิดขึ้นทุกคนให้ความใส่ใจมากค่ะ และในวันศุกร์ส่งท้าย คุณครูได้ลองนำเรื่องของการบอกพื้นที่เป็นตารางหน่วยมาให้พี่ได้ร่วมทบทวนด้วยค่ะ เพื่อความเข้าใจที่แท้จริงของจุดเริ่มต้นในการหาพื้นที่

    ตอบลบ