เป้าหมาย (Understanding Goal)

Week7

เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์  : เข้าใจและสามารถแก้ปัญหาโจทย์ประยุกต์เรขาคณิต 2 มิติได้
Week
Input
Process
Output
Outcome
7
22 - 26
ก.พ. 2559

โจทย์ :
โจทย์เรขาคณิต 2 มิติ ประยุกต์
คำถาม  
- นักเรียนคิดว่ารูปภาพและโจทย์ปัญหาเรขาคณิตต่างๆ สัมพันธ์กันอย่างไร

เครื่องมือคิด
 Show and Share

นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการถ่ายทอดความเข้าใจจากโจทย์ประยุกต์  ในรูปแบบภาพวาด
Black Board Share
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการหาคำตอบและวิธีคิดเกี่ยวกับความเกี่ยวข้องขององค์ความรู้ต่างๆที่นำมาปรับใช้ได้กับเรขาคณิต 2 มิติ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู / นักเรียน

สื่อ / อุปกรณ์  
- ภาพรูปเรขาคณิตต่างๆ ทั้ง 2 มิติ และ 3 มิติ
- โจทย์ประยุกต์  ความยาวรอบรูปและการหาพื้นที่
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
ชง : ครูและนักเรียนทบทวนความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องเรขาคณิต 2 มิติ  เช่น มุม  ความสัมพันธ์ของสามเหลี่ยมและสี่เหลี่ยม
เชื่อม : นักเรียนแต่ละร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากโจทย์  (ความยาวรอบรูป) ที่ดินแปลงหนึ่งกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 60 เซนติเมตร อยากทราบว่าที่ดินแปลงนี้ยาวเท่าไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์โจทย์ ออกเป็นภาพวาดและแสดงวิธีคิดเพื่อค้นหาคำตอบ
- ครูและนักเรียนร่วมกัน วิเคราะห์โจทย์ที่หลากหลายและอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากโจทย์  (การหาพื้นที่) ปกสมุดเล่มหนึ่งกว้าง 18 เซนติเมตร  ยาว  30 เซนติเมตร ปกสมุดนี้มีพื้นที่เท่าไร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์โจทย์ ออกเป็นภาพวาดและแสดงวิธีคิดเพื่อค้นหาคำตอบ
- ครูและนักเรียนร่วมกัน วิเคราะห์โจทย์ที่หลากหลายและอภิปรายร่วมกัน
วันพุธ 1 ชั่วโมง
       การคิด วิเคราะห์รหัสภาษาอังกฤษกับตัวเลข
วันพฤหัสบดี 1 ชั่วโมง
ชง : ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด จากโจทย์  (การหาพื้นที่) ขุดสะน้ำแห่งหนึ่งให้มีขอบสระเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีพื้นที่ 42 ตารางเมตร ความยาว 6 เมตร สระน้ำนี้กว้างกี่เมตร?”
เชื่อม : นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์โจทย์ ออกเป็นภาพวาดและแสดงวิธีคิดเพื่อค้นหาคำตอบ
- ครูและนักเรียนร่วมกัน วิเคราะห์โจทย์ที่หลากหลายและอภิปรายร่วมกัน
ใช้ : ครูแจกโจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการหาพื้นที่และการหาความยาวรอบรูปประยุกต์ให้นักเรียนแต่ละคน
- นักเรียนแต่ละคนร่วมวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นลงในสมุดบันทึก
วันศุกร์ 1 ชั่วโมง
เชื่อม : ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้
ใช้ : นักเรียนสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับโจทย์ประยุกต์  ในรูปแบบ อินโฟรกราฟฟิค
ภาระงาน
- วิเคราะห์โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับความยาวรอบรูปและการหาพื้นที่ ในรูปแบบภาพวาดเพื่อค้นหาคำตอบ
- สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โจทย์ เรขาคณิต 2 มิติ ในรูปแบบ อินโฟรกราฟฟิค
ชิ้นงาน
- อินโฟรกราฟฟิคนำเสนอความเข้าใจเกี่ยวกับโจทย์ประยุกต์การหาพื้นที่ และความยาวรอบรูป

 - สมุดบันทึก


ความรู้
เข้าใจและสามารถแก้ปัญหาโจทย์ประยุกต์เรขาคณิต 2 มิติได้
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
สามารถคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต 2 มิติ พื้นฐาน เพื่อนำไปใช้หาพื้นที่ได้
 ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับพื้นที่ของรูปเรขาคณิตในการใช่หน่วยต่างๆได้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถหาพื้นที่ของสามเหลี่ยมใดๆโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างสามเหลี่ยมใดๆกับสี่เหลี่ยมจัตุรัสได้
ทักษะการเรียนรู้
สามารถร่วมเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นพร้อมให้เหตุผลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้
คุณลักษณะ
การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
-  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
มีความมุ่งมั่นในการทำงาน



ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้
- วิเคราะห์โจทย์ประยุกต์   จากโจทย์  สู่การวาดภาพ  และค้นหาคำตอบ

- ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 

ประมวลความเข้าใจและถ่ายทอดเป็น   Infographics 


  

ตัวอย่างชิ้นงาน










1 ความคิดเห็น:

  1. บันทึกหลังการเรียนรู้
    วิชาคณิตศาสตร์ในสัปดาห์นี้เป็นกิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับการวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์ เรื่องเรขาคณิต 2 มิติค่ะโดยในวันแรกของสัปดาห์เป็นกิจกรรมที่ได้ให้พี่ๆ วิเคราะห์โจทย์ในแต่ละโจทย์แล้วสื่อออกมาเป็นภาพตามความเข้าใจของตนเองหลังจากนั้นก็เป็นกระบวนการที่ถ่ายทอดภาพวาดออกมาเป็นการวิเคราะห์เพื่อค้นหาคำตอบ
    โจทย์ประยุกต์ที่คุณครูได้นำมาให้ได้ร่วมวิเคราะห์และถ่ายทอดเป็นภาพเป็นเรื่องราวของการหาพื้นที่รอบรูปและ การประยุกต์เกี่ยวกับเรขาคณิต 2 มิติต่างๆ เช่น การหาพื้นที่ของสระว่ายน้ำ การหาพื้นที่รอบไร่องุ่นที่มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมสามเหลี่ยมต่างๆค่ะ โดยแต่ละคนได้ร่วมแชร์แล้วก็แสดงความคิดเห็นอีกทั้งได้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นภายในกลุ่มย่อยๆของแต่ละคนค่ะ นอกจากนี้ในส่วนของการประมวลความเข้าใจนั้นแต่ละกลุ่มและแต่ละคนได้ถ่ายทอดความเข้าใจในรูปแบบของ อินโฟกราฟิก
    ส่วนการบ้านนั้นได้มอบหมายให้พี่ๆ ออกแบบโจทย์ประยุกต์ของตนเองเพื่อถ่ายทอดเป็นภาพและแสดงวิธีคิดเพื่อได้มาซึ่งคำตอบและเมื่อนำมาเสนอก็ได้เป็นกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มย่อยๆค่ะ การวิเคราะห์โจทย์ประยุกต์ที่ใช้วิธีการถ่ายทอดออกมาเป็นภาพช่วยให้พี่ป. 5 มีภาพแล้วก็หาคำตอบได้ง่ายมากขึ้น

    ตอบลบ