เป้าหมายการเรียนรู้รายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถอธิบายการหาพื้นที่รูปเรขาคณิต 2
มิติ แบบต่างๆโดยใช้ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตพื้นฐานได้
Week
|
Input
|
Process
|
Output
|
Outcome
|
||
2
18-
22
ม.ค.
2559
|
โจทย์
:
- การหาพื้นที่เรขาคณิต 2
มิติและหน่วยพื้นที่
- เสริมทักษะการสร้างรูปเรขาคณิตต่างๆด้วยสื่ออื่นๆ
คำถาม
- นอกจากการบอกพื้นที่เป็นตารางหน่วยนักเรียนสามารถหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิต
2 มิติ ได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
Show
and Share
นำเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของรูปทรงพื้นฐานที่สามารถนำมาเปรียบเทียบและหาคำตอบของรูปเรขาคณิตอื่นๆได้
Black Board
Share
- แสดงความคิดเห็นร่วมกันเกี่ยวกับการหาพื้นที่รูปเรขาคณิต 2 มิติที่มีรูปร่างแน่นอน โดยการใช้ความสัมพันธ์ของรูปเรขาอื่นๆ
- การสร้างภาพด้วยวงเวียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ครู / นักเรียน
สื่อ / อุปกรณ์
- ใบงาน เกี่ยวกับการสร้างรูปเรขาคณิตและการหาพื้นที่เป็นตารางหน่วยร่วมทั้งการหาพื้นที่โดยใช้ความสัมพันธ์ของรูปร่างต่างๆ
- ภาพรูปเรขาคณิตต่างๆ ทั้ง 2 มิติ
และ 3 มิติ
|
วันจันทร์ 1 ชั่วโมง
เชื่อม
: ครูและนักเรียนร่วมทบทวนการหาพื้นที่โดยใช้ตารางหน่วยในการบอกผล
ชง
: ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นอกจากการบอกพื้นที่เป็นตารางหน่วยได้แล้วนักเรียนสามารถหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิต
2 มิติ ได้อย่างไร?”
เชื่อม
: นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ชง
: ครูวาดรูป
สี่เหลี่ยมจัตุรัส
รูปสีเหลี่ยมผืนผ้า
สี่เหลี่ยมคางหมู และสามเหลี่ยมมุมฉาก ทุกๆภาพมีตัวเลขกำกับบอกขนาด
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่าแต่ละภาพสัมพันธ์กันอย่างไร?”
เชื่อม
: นักเรียนแต่ละคนร่วมแสดงความคิดเห็น
ใช้
: นักเรียนแต่ละคนร่วมทดลองหาพื้นที่ของรูปต่างๆ ตามความเข้าใจเดิมที่มีอยู่และอภิปรายร่วมกัน
วันอังคาร 1 ชั่วโมง
เชื่อม
: ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตต่างๆ
เมื่อชั่วโมงที่แล้ว
ใช้
: ครูแจกใบงานให้นักเรียนแต่ละคนซึ่งเกี่ยวกับการสร้างรูปเรขาคณิตและการหาพื้นที่เป็นตารางหน่วยร่วมทั้งการหาพื้นที่โดยใช้ความสัมพันธ์ของรูปร่างต่างๆให้นักเรียนแต่ละคน ทบทวนความเข้าใจพื้นฐาน
ใช้ : นักเรียนออกแบบรูปเรขาคณิตด้วยวงเวียนเป็นรูปต่างๆ เช่น สีเหลี่ยมขนมเปียกปูน สามเหลี่ยมด้านเท่า สามเหลี่ยมมุมฉาก การแบ่งมุมด้วยวงเวียน ฯลฯ
|
ภาระงาน
- ทบทวนการหาพื้นที่โดยใช้ตารางหน่วยในการบอกผล
- วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต และทดลองหาพื้นที่ของรูปต่างๆ ตามความเข้าใจเดิมที่มีอยู่และอภิปรายร่วมกัน
- ออกแบบรูปเรขาคณิตด้วยวงเวียนเป็นรูปต่างๆ เช่น สีเหลี่ยมขนมเปียกปูน สามเหลี่ยมด้านเท่า สามเหลี่ยมมุมฉาก การแบ่งมุมด้วยวงเวียน ฯลฯ
ชิ้นงาน
- ภาพวาดรูปเรขาคณิต จากวงเวียน
- ใบงานการหาพื้นที่เบื้องต้น
- สมุดบันทึก
|
ความรู้
เข้าใจและสามารถอธิบายการหาพื้นที่รูปเรขาคณิต
2 มิติ แบบต่างๆโดยใช้ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตพื้นฐานได้
ทักษะ
ทักษะการคิดวิเคราะห์
สามารถคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิต
2 มิติ พื้นฐาน เพื่อนำไปใช้หาพื้นที่ได้
ทักษะการให้เหตุผล
สามารถให้เหตุผลเกี่ยวกับพื้นที่ของรูปเรขาคณิตในการใช่หน่วยต่างๆได้
ทักษะการแก้ปัญหา
สามารถหาพื้นที่ของรูปร่างที่ไม่แน่นอนได้
รวมทั้งหาพื้นที่ของรูปเรขาคณิตต่างๆที่มีสัดส่วนแน่นอนด้วยการใช้การมองภาพพื้นฐานของรูปทรงเรขาคณิตอื่นๆเบื้องต้นได้
ทักษะการเรียนรู้
สามารถร่วมเรียนรู้และแสดงความคิดเห็นพร้อมให้เหตุผลต่อสิ่งที่ได้เรียนรู้
คุณลักษณะ
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- สรุปสิ่งที่ตนเองได้เรียนรู้ได้อย่างสร้างสรรค์
- มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
|
ประมวลภาพกิจกรรมการเรียนรู้






ตัวอย่างชิ้นงาน







บันทึกหลังการเรียนรู้
ตอบลบสัปดาห์นี้เป็นกระบวนเรียนรู้เบื้องต้น เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจ ให้เชื่อมโยงกับความเข้าใจเดิมของพี่ๆ ป.5 เกี่ยวกับรูปเรขาคณิตและการหารพื้นที่ต่างๆ โดยการใช้ความสัมพันธ์ของรูปเรขาคณิตพื้นฐาน ซึ่งคุณครูใช้วิธีการชี้ชวนให้สังเกตรูปร่างของเรขาคณิตที่มีความสัมพันธ์กัน เพื่อนำมาปรับใช้ในการหาพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่นการหาพื้นที่ของสีเหลี่ยมคางหมู พี่ๆมองว่ายาก ดังนั้นคุณครูจึงวาดภาพและให้ทุกคนตั้งข้อสังเกต เริ่มตั้งแต่ การหาพื้นที่ของสีเหลี่ยมจัตุรัส (พ่วงความสัมพันธ์ของสามเหลี่ยมมุมฉากเข้าไปด้วย ทุกคนเริ่มเห็นที่มาของสูตรการหาพื้นที่ ½ ) จากนั้นก็ขยับมาเป็นสีเหลี่ยมพื้นผ้า เมื่อทุกคนเห็นความสัมพันธ์ของค่าต่างๆและภาพที่เกิดขึ้น คุณครูจึงน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูและสี่เหลี่ยมรูปว่าวมาให้พี่ๆพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งครั้งนี้มุมมองของทุกคนมองภาพต่างจกครั้งแรก จากคำถามของคุณครูที่ว่า “พี่ๆมองเห็นรูปเรขาคณิตอะไรบ้างในสี่เหลี่ยมคางหมูนี้?” ทุกคนอ๋อค่ะ เพราะมีความเข้าใจเรื่องของสี่เหลี่ยม และสามเหลี่ยมมุมฉากมาแล้ว ก็เลยช่วยให้การหาพ้นที่ง่ายขึ้นสำหรับพวกเข้า แต่ก็ยังต้องอาศัยใบงานมาช่วยร่วมด้วยเป็นการทบทวน ซึ่งคุณครูผู้สอนตั้งใจว่า จะทำกิจกรรมเป็นกิจกรรมแต่ละกิจกรรมไป เริ่มจากสี่เหลี่ยม หมดทุกรูปแบบ แล้วค่อยเปลี่ยนรูปร่างไปเรื่องๆค่ะ
นอกจากกิจกรรที่เรามา สัปดาห์นี้คุณครูก็ได้เสริมทักษะด้านการออกแบบรูปเรขาคณิตโดยใช้สื่ออื่นที่มาตรฐาน ทื่อที่ว่าก็คือวงเวียนค่ะ เริ่มตั้งแต่สร้างเส้นตรง แบ่งครึ่งเส้น สร้างมุม แบ่งครึ่งมุม จนกระทั้งสร้างรูปเรขาคณิตจากวงเวียน แรกๆหลายคนสับสน เพราะใช้ไม้เป็น แต่พอทำเข้าเรื่อยๆมีโจทย์ใหม่มาให้ ทุกคนสนุกสนาน ทำได้ทุกคนเลยค่ะ